สัตว์เลี้ยงพิเศษ
ช้างจัดได้ว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เป็นสัญลักษณ์ของไทย สมัยหนึ่งสัญลักษณ์รูปช้างเคยปรากฎอยู่บนผืนธงชาติไทยการรักษาช้าง Motala ช้างทึ่ถูกกับระเบิดที่โรงพยาบาลสัตว์กำแพงเสน
ช้างเอเชีย (Elephas maximus) มี 3 ชนิดย่อย ได้แก่
ช้างจัดได้ว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เป็นสัญลักษณ์ของไทย สมัยหนึ่งสัญลักษณ์รูปช้างเคยปรากฎอยู่บนผืนธงชาติไทยการรักษาช้าง Motala ช้างทึ่ถูกกับระเบิดที่โรงพยาบาลสัตว์กำแพงเสน
ช้างเอเชีย (Elephas maximus) มี 3 ชนิดย่อย ได้แก่
1. ช้างศรีลังกา (Elephas maximus maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ สีกายดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ช้างเอเชียพันธ์ศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลายมีงาน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้งเอเชียพันธุ์อื่นคือไม่มีงาแต่มีขนายเท่านั้น
2. ช้างอินเดีย (Elephas maximus indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่างๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา แคว้นยูนานประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ
3. ช้างสุมาตรา (Elephas maximus sumatranus) มีขนาดตัวเล็กที่สุด สีผิวจางมากที่สุด พบในมาเลเซีย สุมาตรา
2. ช้างอินเดีย (Elephas maximus indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่างๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา แคว้นยูนานประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ
3. ช้างสุมาตรา (Elephas maximus sumatranus) มีขนาดตัวเล็กที่สุด สีผิวจางมากที่สุด พบในมาเลเซีย สุมาตรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น